วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผลร้าย

การซิกรุลลอฮฺ
               6. “การรำลึก (اَلذِّكْرُ )  ไม่ถูกกำหนดเงื่อนไขด้วยกาลเวลา  สถานที่  หรือ  วิธีการที่แน่นอน  หากแต่จะผสมผสานอยู่ในวิถีชีวิตทั้งหมด  ในทุกเวลาและทุกขณะ  พระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  ทรงดำรัสว่า

(وَاذكُرْرَبَّكَ إِذَانَسِيْتَ )
“และจงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของสูเจ้าเมื่อสูเจ้าหลงลืม”  (อัลกะฮฺฟิ : 24)

               หมายถึงให้รำลึกเป็นนิจสินและหากเราใคร่ครวญบรรดาโองการที่พระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  ทรงมีบัญชาให้เราทำการรำลึก  เราจะพบว่า  การรำลึกนั้นจำต้องควบคู่อยู่ตลอดเวลาสำหรับมนุษย์  จะไม่แยกจากกันเลย

(ألاَبِذِكْرِاللهِ ﺗَﻄْﻤَﺌِﻦُّ الْقُلُوْبُ )
“พึงสังวรณ์  ด้วยการรำลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้านั้นหัวใจทั้งหลายจะสงบลง”
(อัรเราะอฺดุ : 28)

               การแสดงออกต่อธารกำนัลไม่ถือเป็นเงื่อนไขในการรำลึก และเกรงว่าจะมีการโอ้อวด  (اَلرِّيَاءُ )  เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกนั้น  อีกทั้งไม่มีเงื่อนไขว่าการรำลึกต้องมีครูฝึก และไม่ต้องการสื่อกลางแต่อย่างใด...” (ชัรฮุลอัรบะอีน อันนะวาวียะฮฺ , สะมีร อะฮฺมัด อัลอัฏฏ๊อร ; ดารุ้ลอิหม่าม อันนะวาวีย์ ดามัสกัส หน้า 124)
—————————————————————————————————————————————————
               ผลร้ายของการประพฤติชั่ว
               
7. ส่วนหนึ่งจากผลร้ายของการฝ่าฝืนหลักคำสอนของศาสนานั้นคือ  

               1. มีผลทำให้ชีวิตสั้น ขาดสิริมงคล                                7. ทำให้ผู้ฝ่าฝืนขาดความหึงหวงในสิ่งที่ดี
               2. มีผลทำให้ผู้ฝ่าฝืนต้องประพฤติชั่วซ้ำซาก                   8. ทำลายความละอายต่อบาป
               3. ทำให้การเตาบะฮฺ (การสำนึกผิด) อ่อนแอลง                9. ทำให้หัวใจเกิดโรคร้ายและมืดบอด
               4. ทำให้ผู้ฝ่าฝืนอัปยศไร้ค่า ณ พระผู้เป็นเจ้า                 10. ทำให้ความโปรดปรานหมดไป  
               5. เป็นเหตุแห่งความวิบัติในโลก                                  11. ทำให้ผู้ฝ่าฝืนกลายเป็นชนชั้นต่ำ
               6. เป็นเหตุให้เกิดธรณีสูบและธรณีพิบัติ                        12. เป็นเหตุแห่งการติเตียน      


               
(เก็บความจากอัดดาอุ้ วัดดะวาอฺ / อัลญะวาบุ้ลกาฟี ลิมันซะอะล่า อะนิดดะวา อัชชาฟี ; อิบนุ ก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ ดารุ้ลกุตุบ อัลอิลฺมี่ยะฮฺ เบรุต)
—————————————————————————————————————————————————
               8. ผลร้ายของการเยินยอ 
               ในการเยินยอนั้นมีความวิบัติ 6 ประการ 4 ประการจะเกิดแก่ผู้เยินยอ และอีก 2 ประการจะเกิดแก่ผู้ถูกเยินยอ กล่าวคือ

              1. ลางทีผู้เยินยอ ยกยอปอปั้นจนเกินเหตุ ผู้เยินยอจึงตกอยู่ในข่ายมุสาวาจา
               2. ลางทีผู้เยินยอ แสแสร้งว่ารักใคร่ผู้ถูกเยินยอ ทั้งที่หามีความรักภายในใจต่อผู้ถูกเยินยอไม่ ผู้เยินยอจึงตกอยู่ในข่ายของการเสแสร้งโอ้อวด (ริยาอฺ)
               3. ลางทีผู้เยินยอ พูดกล่าวถึงสิ่งที่ตนขาดความมั่นใจ (คือไม่รู้แน่ชัด) ผู้เยินยอจึงพูดในสิ่งที่ตนไม่รู้
               4. ผู้เยินยอทำให้ผู้ถูกเยินยอเกิดความสุขใจ ซึ่งบางทีผู้ถูกเยินยอนั้นเป็นคนอธรรม ผู้เยินยอจึงมีบาปเพราะทำให้ความสุขใจเข้าสู่หัวใจของคนอธรรมนั้น
               5. คำเยินยอนั้นอาจก่อให้เกิดความหยิ่งผยองและลำพองตนแก่ผู้ที่ถูกเยินยอ
               6. ผูู้กเ
ยินยอพึงใจกับคำยกยอปอปั้นนั้น ทำให้ผู้ถูกเยินยอพึงพอใจในตัวเองและลดการประพฤติความดี
               (เก็บความจากปะนาวัร บาฆีย์ ฮะตี ; ชัยค์ อับดุลกอเดร อัลมันดิลีย์ หน้า 33-34)
—————————————————————————————————————————————————
               ประเภทของวิชาอ่านลักษณะคน
               
9. วิชาอ่านลักษณะคน (اَلْفِرَاسَةُ ) มี 3 ชนิด 

               1.อีมานียะฮฺ (เกี่ยวกับพลังศรัทธา) มีรัศมีที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงใส่เอาไว้ในหัวใจของบ่าวเป็นปัจจัยเหตุแก่นแท้ของมันนั้นเป็นการผุดขึ้นในใจที่จู่โจมหัวใจของบ่าวกระโจนเข้าใส่ประหนึ่งดังการกระโจนของราชสีห์ที่เข้าตะครุบเหยื่อ
               วิชาแขนงนี้เป็นไปตามพลังความศรัทธา ผู้ใดมีศรัทธาที่แรงกล้าเป็นที่สุด ผู้นั้นเป็นเอกในการอ่านลักษณะคน อบูสุลัยมาน อัดดารอนีย์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : “วิชาอ่านลักษณะคนเป็นการเปิดเผยของจิตและเป็นการมองเห็นถึงข้อตำหนิเยี่ยงการเห็นของตา ถือเป็นหนึ่งจากระดับขั้นของการศรัทธา”
               2. ริยาฏียะฮฺ (เกี่ยวกับการฝึกฝน) เกิดขึ้นได้ด้วยความหิว การอดนอนและการเข้าเงียบ (ปลีกวิเวกบำเพ็ญตบะ) ทั้งนี้เมื่อจิตปลอดจากอุปสรรคขวางกั้นทั้งหลาย ก็จะเกิดการรู้แจ้งแก่จิตเป็นไปตามการขัดเกลาให้จิตบริสุทธิ์จากอุปสรรคดังกล่าว วิชาแขนงนี้ร่วมกันทั้งผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธ และไม่ใช่สิ่งบ่งชี้ถึงศรัทธาและการเป็นวะลีย์แต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการรู้แจ้งในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ และไม่ได้เกิดจากครองตนบนหนทางที่เที่ยงตรง 
               3. คิลกียะฮฺ (เกี่ยวกับบุคลิกลักษณะทางกาย) คือสิ่งที่บรรดาหมอจะให้ลักษณะเกี่ยวกับการวินิจฉัย โดยพิจารณาจากลักษณะทางร่างกายซึ่งบ่งถึงลักษณะนิสัยใจคอซึ่งสัมพันธ์กัน เช่น การมีศีรษะเล็กจนผิดปกติแสดงว่ามีปัญญา (มันสมอง) เล็ก เป็นต้น

                (เก็บความจากชัรฮุ้ลอะกีดะฮฺ อัฏฏ่อฮาวียะฮฺ หน้า 498-499)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น